ในข้อสอบ
TOEIC ส่วนของ Conjunctions (สันธาน) หรือคำเชื่อมนั้น
จะมี 4 ตัวเลือกเช่นกัน โดยกำหนดให้เลือกข้อที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น
และพบว่าจะมี Conjunctions (สันธาน) หรือคำเชื่อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องในข้อสอบ TOEIC 3 ประเภทด้วยกันคือ 1. Coordinating Conjunction (สันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่มีฐานทางไวยกรณ์เหมือนกัน)
2. Subordinating Conjunctions (สันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่มีฐานทางไวยกรณ์ต่างกัน)
3. Corretative Conjunctions (สันธานที่เชื่อมกันเป็นคู่ๆ (Pairs)
1. Coordinating Conjunction เป็นคำสันธานที่เชื่อมคำ (Words) วลี (Phrases) หรือประโยค (Sentences)
ต่างๆ ที่มีฐานทางไวยกรณ์เหมือนกันเช่น
คำเชื่อม คำว่า And (และหรือด้วย) แสดงการร่วมหรือเพิ่ม
ตัวอย่างเช่น
- - He has the skills and the Knowledge
to do the job.
คำเชื่อม คำว่า But (แต่) แสดงความขัดแย้ง
ตัวอย่างเช่น
- - She has the qualifications but not
the experience.
คำเชื่อม คำว่า So (ดังนั้น) แสดงผลที่เกิดจากเหตุหรือการกระทำ
ตัวอย่างเช่น
- - Andrew got the contract for the
company, so he was given a promotion.
คำเชื่อม คำว่า Or (หรือ) ใช้แสดงเพื่อเลือก
ตัวอย่างเช่น
- - Do you want to start now or later?
อย่างไรก็ตาม สำหรับ Coordinating Conjunction เมื่อแบ่งตามความหมายแล้ว
จำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มใช้เชื่อมความคล้อยตามกัน (Cumulative Conjunctions) หรือเรียกว่ากลุ่ม “And” group ซึ่งมีความหมาย
“การเพิ่มเติม” เช่น
- On the table for tea there were
cakes and biscuits and tarts and sandwiches.
หรือบางทีใช้ and
เชื่อมเฉพาะรายการสุดท้ายตัวอื่นๆ ใช้ comma (,) แทน เช่น
- - On the table for tea there were
cakes, biscuits, tarts and sandwiches.
นอกจากนั้นแล้วคำเชื่อมกลุ่ม “and” นี้ใช้เชื่อมประโยค 2
ประโยค โดยที่ประโยคหนึ่งแสดงความหมายเงื่อนไข (Conditoion) หรือ
วัตถุประสงค์ (Purpose) ตัวอย่างเช่น
- - Work hard and you’ll get your
reward. (เงื่อนไข)
(If you work
hard, you’ll get your reward.)
- - Write and asks him when he is
coming. (วัตถุประสงค์)
1.2
กลุ่มใช้เชื่อมความหมายขัดแย้ง
(adversative Conjunction) หรือแย้ง (Contrast) หรือเรียกกลุ่ม “But” group ซึ่งมีความหมายเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่ต้องการเช่น
- - The car was quite old but in
excellent condition.
อย่างไรก็ตามตัวเชื่อมอื่นๆ
ที่อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นวลีบุพบท (Prepositional
Phrase) เช่น คำว่า In spite of, despite that ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
- - In spite of its age, the car was in
excellent condition.
- - The car was quite old ; despite that
it was in excellent condition.
1.3
กลุ่มใช้เพื่อเชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
(Alternative Conjuction) หรือเรียกว่ากลุ่ม “Or” group แสดงการเลือกระหว่างของ 2 สิ่ง หรือการประมาณ ตัวอย่างเช่น
- - You must work harder or go into
another class.
- - The work will cost $100 or $110.
1.4
กลุ่มใช้เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน
(Causative Conjuctions) หรือเรียกว่ากลุ่ม “So”
group แสดงความหมายผลลัพธ์ที่ตามมา (Consequence) ตัวอย่างเช่น
- - He didn’t work hard, so he had to go
to another class.
- The rain began to fall, so we went
home.
อย่างไรก็ตามยังมีคำเชื่อมอื่นๆในกลุ่มนี้
ได้แก่คำว่า then, therefore, thus, hence,
accordingly, consequently นอกจากนั้นยังมีประเภท Subordinating Conjunctions บางคำ เช่นคำว่า so that ซึ่งใช้นำหน้า Clause
ที่แสดงวัตถุประสงค์
(Perpose) แต่ไม่ได้แสดงผลลัพท์ (Result) ตัวอย่างเช่น
- - We work until six; then we went
home.
- - He broke the rules of the school;
therefore, he had to leave.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น